สำหรับชื่อ แก่งเสี้ยน เดิมเล่าสืบต่อกันมาว่า สมัยโบราณมีนางเงือกได้ลืมเชี่ยนหมากไว้ บริเวณลำธารแห่งหนึ่ง และที่มีหลักฐานชัดเจนคือข้อความปรากฏในพระราชนิพนธ์ระยะทางเสด็จประพาสไทรโยค ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครั้งแรก) พ.ศ.2420 หน้าที่ 59 และหน้าที่ 73 กล่าวถึงทางผ่านในการเสด็จประพาสไทรโยคว่าต้องผ่าน แก่งเสี้ยน และบ้านเกาะกร่าง ซึ่งปัจจุบันปรากฏหลักฐานทางภูมิศาสตร์บริเวณหมู่ 9 บ้านหนองผักบุ้ง(ช่องสะเดา) และ หมู่ 8 บ้านเกาะกร่าง ของตำบลแก่งเสี้ยนฯ
(ที่มาของ ตำบลแก่งเสี้ยน ตามที่ปรากฏในพระราชหัตถเลขาเสด็จประพาธไทรโยค รศ 130 หน้า 59)
#เที่ยวท้องถิ่น #ของดีบ้านเรา #อำเภอเมืองกาญจนบุรี
#จังหวัดกาญจนบุรี
วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 10.00 น. เทศบาลตำบลแก่งเสี้ยน จัดประชุมสภาเทศบาลสมัยสามัญ สมัยที่ 1ครั้งที่ 1 ประจำปี 2567 โดยมี นายสายพรหม มังกะโรทัย ประธานสภาเทศบาลตำบลแก่งเสี้ยน เปิดการประชุม , นายประพันธ์ เรืองบุญญา ปลัดเทศบาล ทำหน้าที่เลขานุการสภาเทศบาล พร้อมด้วย สมาชิกสภาเทศบาล , คณะผู้บริหาร นำโดย พ.ต.ท. บุญเลิศ มังกะโรทัย นายกเทศมนตรีตำบลแก่งเสี้ยน ,รองปลัดเทศบาล , หัวหน้าส่วนราชการ, และพนักงานเทศบาล เข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียงกัน จัดขึ้น ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลแก่งเสี้ยน
ด้วยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๔๒ เห็นชอบให้เดือนพฤศจิกายนของทุกปี เป็น“เดือนรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี ซึ่งสอดคล้องกับสหประชาชาติได้ให้ความสำคัญและกำหนดให้วันที่ 25 พฤศจิกายน ของทุกปีเป็นวันรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรีและบุคคลในครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นหน่วยงานหลักในการส่งเสริมสนับสนุนทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนการรณรงค์อย่างต่อเนื่องทุกปี